งานวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2443 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒน-ศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัต โดยในขณะนั้น ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม โดยทรงตั้ง “กองพิมพ์ลายนิ้วมือ” ขึ้นมา สำหรับตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา อันเป็นจุดเริ่มต้น ของการตรวจพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ปี พ.ศ. 2444 จัดให้มีการพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ ของนักโทษที่จะพ้นโทษเก็บไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันตัวบุคคลว่าได้เคยกระทำความผิดมาก่อน ดังนั้นพระองค์จึงเปรียบเสมือน“บิดาวิชาลายพิมพ์นิ้วมือ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
ใน ปี พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชโองการให้จัดวางโครงการตำรวจขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อกรมตำรวจภูธร เป็นกรมตำรวจ และให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จัดแบ่งแผนกงารายย่อยตามความเหมาะสม ซึ่งได้มีการจัดแผนกวิทยาการ อยู่ในสังกัดเป็นกองที่สามของตำรวจสันติบาล
ปี พ.ศ. 2482 มีการขยายงานวิทยาการไปสู่ส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก โดย พล.ต.ต. หลวงพิสิฐวิทยากร(ขณะนั้น ยศ พ.ต.ท.) ได้ขยายงานทะเบียนพิมพ์ลายนิ้วมือไปตั้งที่ภาคต่างๆ
เขตเหนือ ตั้งที่ พิษณุโลก
เขตใต้ ตัั้งที่ สงขลา
เขตตะวันออก ตั้งที่ นครราชสีมา
เขตตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งที่ อุดรธานี
ต่อ มาในปี พ.ศ. 2483 ได้มีการปรับปรุง และขยายงานของกรมตำรวจ ได้จัดตั้งกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และให้งานด้านวิทยาการ มาขึ้นตรงกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ใน ปี พ.ศ. 2500 องค์การบริหารวิเทศกิจ สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (U.S.O.M.) ได้ให้ความช่วยเหลืองานด้านวิทยาการตำรวจ ตำรวจภูธร ไต่สวนผู้ร้ายฆ่า นายพรมมา และบุตร ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอพิมาย มณฑลนครราชสีมา
ปี พ.ศ. 2503 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ปรับปรุงหน่วยงานใหม่ โดยยุบ “กองวิทยาการ”ออกจากสาระบบทำเนียบราชการตำรวจ และแยกงานของกองนี้ออกเป็น 2 กอง คือ กองพิสูจน์หลักฐานและ กองทะเบียนประวัติอาชญากรโดยขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ ตั้งแต่ 13 กันยายน 2503
ปี พ.ศ. 2509 ได้ขยายงานวิทยาการออกสู่ภูมิภาค โดยได้รับความช่วยเหลือจากยูซ่อม
ปี พ.ศ. 2519 คำ สั่งคณะปฏิรูปที่ 45 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 จัดตั้งกองบังคับการตำรวจภูธรขึ้น ในส่วนภูมิภาคตามจังหวัดต่างๆ จำนวน 12 กองบังคับการ
ปี พ.ศ. 2523 มีการจัดตั้งคณะทำงานปรับปรุงงานวิทยาการตำรวจ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถงานวิทยาการตำรวจในส่วนภูมิภาค
ปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ กำหนดตำแหน่งผู้บัญชาการประจำ กรมตำรวจ (ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานวิทยาการตำรวจ) เพื่อทำหน้าที่ควบคุมบริหารงานของหน่วยงานวิทยาการทั้งหมด
ปี พ.ศ. 2535 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจใหม่ โดยรวมหน่วยงานด้านวิทยาการตำรวจ ซึ่งได้แก่กองพิสูจน์หลักฐาน กองทะเบียนประวัติอาชญากร และงานวิทยาการในส่วนภูมิภาค ขึ้นเป็น สำนักงานวิทยาการตำรวจ (สวท.)ซึ่ง มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ จึงทำให้สำนักงานวิทยาการตำรวจ(สวท.) ได้ถือกำเนิดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยได้แบ่งแยกการทำงานออกเป็นหน่วยงานย่อย ในระดับกองกำกับการเขต และวิทยาการจังหวัด
ใน วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ได้มี พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการใหม่ ให้ “สำนักงานวิทยาการตำรวจ“ เปลี่ยนชื่อเป็น“สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ“ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งระบบ โดยมีการตั้งหน่วยงานใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากและได้ยกฐานะของ “วิทยาการนครปฐม” เป็น “ วิทยาการเขต 15” รับผิดชอบพื้นที่ 4 จังหวัด คือ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร
ใน วันที่ 7 กันยายน 2552 ได้มี พ.ร.ฏ.แบ่งส่วนราชการใหม่ ให้ “สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ“ เปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ“ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งระบบ ให้มีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งให้สอดคล้องกับพื้นที่ของตำรวจภูธรภาคต่างๆ โดยมีการยกฐานะของหน่วยงานขึ้นส่วนหนึ่ง ซึ่ง วิทยาการเขต 15 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 7 รับผิดชอบพื้นที่ 8 จังหวัด คือ นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราบบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์